ศัลยกรรมผ่าตัดเสริมอัณฑะ
(Testicular Implant/ Augmentation )
ปัญหาทางพันธุกรรมทำให้ไม่มีลูกอัณฑะตั้งแต่กำเนิด ไม่มีลูกอัณฑะ1 ข้างหรือไม่มีทั้ง 2 ข้าง มะเร็งต่อมลูกหมากหรือมะเร็งลูกอัณฑะ ภาวะขั้วของถุงอัณฑะบิดทำให้ขาดเลือดไปเลี้ยงอัณฑะ อุบัติเหตุ หรือแม้แต่ผู้ชายที่ต้องการผ่าตัดแปลงเพศ ล้วนเป็นปัจจัยทำให้ต้องตัดอัณฑะทิ้งไป ศัลยกรรมผ่าตัดเสริมอัณฑะจึงเป็นทางออกที่เหมาะสม โดยการผ่าตัดเพื่อใส่ลูกอัณฑะเทียมเข้าไปในถุงอัณฑะ ทำให้คุณกลับมามีความมั่นใจในการใช้ชีวิตในสังคมอีกครั้ง
เทคนิคการผ่าตัดเสริมอัณฑะ
(สามารถทำในคนที่อัณฑะมีขนาดเล็กผิดปกติแต่ยังมีการผลิตฮอร์โมนได้ตามปกติ)
· วางถุงอัณฑะเทียมด้านหน้า ต่ออัณฑะเดิมทีมีขนาดเล็กโดยไม่ผ่าตัดอัณฑะเดิมออก หลังการผ่าตัดก็จะได้ถุงอัณฑะที่มีลูกอัณฑะชัดเจน โดยที่ลูกอัณฑะจริงอยู่ด้านหลังซึ่งก็ยังสามารถผลิตอสุจิและฮอร์โมนตามปกติ
ข้อจำกัดสำหรับศัลยกรรมผ่าตัดเสริมอัณฑะ
· ไม่แนะนำในคนที่มีขนาดลูกอัณฑะปกติ
· ไม่แนะนำให้ผ่าตัดเอาลูกอัณฑะออก ยกเว้นกรณีที่มีข้อบ่งชี้จากการแพทย์
ขั้นตอนการผ่าตัดเสริมอัณฑะ
(ทำแล้วกลับบ้านได้ทันที หรือพักที่โรงพยาบาล 1 คืน)
· ศัลยแพทย์ฉีดยาชาหรือดมยาสลบให้คนไข้เพื่อระงัดปวด จากนั้นใช้น้ำยาฆ่าเชื้อทำความสะอาด เปิดแผลที่ผิวหนังของถุงอัณฑะ (ถ้าไม่มีแผลเป็นมาก่อนจะเปิดแผลบริเวณด้านบน)
· สร้างช่องว่างในถุงอัณฑะสำหรับใส่ลูกอัณฑะเทียม (ใส่สายระบายน้ำเหลือง หากมีเลือดออกมาก)
· เย็บปิดแผลด้วยไหมละลาย
· ใส่ผ้ายืดหรือพลาสเตอร์และผ้าพันแผลเพื่อยกถุงอัณฑะไว้ไม่ให้ตกลง เพื่อลดความเจ็บปวดหลังการผ่าตัด
ทั้งนี้เทคนิคการทำศัลยกรรมที่เหมาะสม ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ และปัญหาของคนไข้แต่ละราย เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่พึงพอใจสูงสุด คนไข้จำเป็นต้องเข้ามาปรึกษาเเพทย์ก่อนทำทุกครั้ง
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดเสริมอัณฑะ
· งดน้ำและอาหาร 6–8 ชั่วโมงก่อนการผ่าตัด
· เตรียมโกนขนอวัยวะเพศมาจากบ้าน (หากไม่ได้โกนมาสามารถมาโกนที่โรงพยาบาลได้)
· เตรียมร่างกายให้พร้อม หากมีโรคประจำตัวโปรดแจ้งศัลยแพทย์ล่วงหน้า
· งดทาน Aspirin, Ibuprofen หรือฉีดฮอร์โมน เพื่อลดโอกาสเส้นเลือดดำอุดตัน อย่างน้อย 2 สัปดาห์
· งดวิตามิน หรือสมุนไพรที่ทานเป็นประจำ เช่น วิตามินอี เพราะจะทำให้เลือดหยุดยาก
· งดสูบบุหรี่ และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์อย่างน้อย 2-4 สัปดาห์ก่อนและหลังผ่าตัด
ขั้นตอนการดูแลหลังผ่าตัดเสริมอัณฑะ
· รู้สึกตึงๆ และปวดแผลประมาณ 24–48 ชั่วโมง ควรทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการ
· หลังผ่าตัดจะมีพลาสเตอร์หรือผ้ารัดถุงอัณฑะซึ่งต้องใส่ไว้ประมาณ 3 วัน - 1 สัปดาห์
· อาการบวมและปวดที่ถุงอัณฑะจะดีขึ้นภายใน 2-3 สัปดาห์
· ปัสสาวะได้ตามปกติ และแผลถูกน้ำได้หลังผ่าตัด 1 สัปดาห์
· งดมีเพศสัมพันธ์ในช่วง 1 เดือนแรกหลังผ่าตัด
· แพทย์นัดดูอาการภายใน 3-7 วัน
ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อน
· เลือดออก การติดเชื้อ
· ภาวะแคลเซียมเกาะที่รอบถุงอัณฑะเทียม
· การรั่วซึมของถุงอัณฑะเทียมมักเกิดกับถุงน้ำเกลือ
· การมีน้ำเหลืองคั่ง
· การทะลุของถุงอัณฑะเทียม
· การเลื่อนตำแหน่งของถุงอัณฑะ
· การชาที่ส่วนล่างของถุงอัณฑะ
· ในเด็กเล็กที่ใส่ถุงอัณฑะขนาดเล็ก เมื่อเด็กโตขึ้นอาจต้องเปลี่ยนขนาดของถุงให้ใหญ่ขึ้น
การนัดผ่าตัด
สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
📞 02-715-0111
(9.00-17.00)
📱 081-813-6144
📧 consult@pai.co.th
Facebook preechasurgery
LINE @paisurgery