ศัลยกรรมผ่าตัดเสริมสะโพก
(Gluteal Implant)
เป็นการเพิ่มส่วนของแก้มก้นหรือส่วนของสะโพกให้ใหญ่ขึ้น เมื่อเสริมแล้วรูปร่างจะดีขึ้น บั้นท้ายกลมสมส่วน สะโพกสวยงาม เพิ่มความมั่นใจในการเลือกใส่เสื้อผ้าได้หลากหลาย ซึ่งในปัจจุบันศัลยกรรมผ่าตัดเสริมสะโพกเป็นที่นิยมในเพศชายเช่นกัน
วัสดุที่ใช้ในการเสริมสะโพก
ปัจจุบันนี้มีเทคนิคการผ่าตัดเสริมสะโพกแบบใช้ถุงซิลิโคน หรือแผ่นซิลิโคนเข้าไป ซึ่งการผ่าตัดนิยมทำกันมากในประเทศบราซิลและอเมริกา
ถุงซิลิโคนเสริมสะโพกมี 2 เเบบ
1. ถุงเสริมสะโพกเทียม (มักใช้ในกรณีที่หาขนาดของซิลิโคนเเผ่นไม่ได้) เป็นถุงที่ทำด้วยซิลิโคน ภายในบรรจุซิลิโคนเจล เช่นเดียวกับถุงซิลิโคนที่ทำการเสริมหน้าอกแต่มีรายละเอียดแตกต่างกัน ถุงซิลิโคนสำหรับเสริมสะโพกภายในบรรจุด้วยซิลิโคนเจลที่มีความหนาแน่นมาก (High Cohesive gel) เท่านั้น ไม่มีการผลิตแบบถุงน้ำเกลือ เนื่องจากอัตราการรั่วของน้ำเกลือมีมากกว่าถุงเจล เพราะการเสริมสะโพกเป็นการใส่ถุงในกล้ามเนื้อมัดใหญ่ที่มีการเคลื่อนไหว ทำให้มีแรงกดบริเวณถุงสะโพกมากกว่าถุงเต้านมจึงมีปัญหารั่วซึมได้มากกว่า
2. ซิลิโคนชนิดแผ่น เป็นซิลิโคนแท่งที่มีการทำขึ้นมาเพื่อเสริมสะโพก โดยมีลักษณะเช่นเดียวกับซิลิโคนแท่งสำหรับการเสริมจมูก แต่มีการผลิตมาเป็นแผ่นใหญ่ และมีรูปร่างโค้งงอตามรูปแบบของสะโพก
เทคนิคการผ่าตัดเสริมสะโพก
(ระยะเวลาผ่าตัดประมาณ 1-2 ชั่วโมง)
· ศัลยแพทย์วางยาสลบระงับปวดให้คนไข้ จากนั้นทำแนวเส้นผ่าตัดบริเวณร่องก้นยาวประมาณ 2-3 นิ้ว และยกส่วนของชั้นกล้ามเนื้อขึ้นเพื่อให้เกิดช่องว่างสำหรับวางซิลิโคน เมื่อทำครบทั้ง 2 ข้างและตรวจสอบว่าเท่ากันแล้ว จึงเย็บปิดบาดแผล
ทั้งนี้เทคนิคการทำศัลยกรรมที่เหมาะสม ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ และปัญหาของคนไข้แต่ละราย เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่พึงพอใจสูงสุด คนไข้จำเป็นต้องเข้ามาปรึกษาเเพทย์ก่อนทำทุกครั้ง
บริเวณที่นิยมในการผ่าตัดมี 3 ตำแหน่ง
1. ขอบบนของสะโพก 2 ข้าง
การเปิดแผลแบบนี้สามารถทำได้ง่าย แต่มีข้อเสียคือ แผลเป็นค่อนข้างเห็นได้ชัดเจน แต่สามารถซ่อนได้ใต้เสื้อผ้า
2. กลางกระดูกก้นกบ
เป็นการเปิดแผลที่นิยมมากที่สุด การผ่าตัดทำโดยลงแผลแนวตั้งบริเวณกระดูกก้นกบยาวประมาณ 2-3 นิ้วในตำแหน่งของร่องก้นพอดี ข้อดีคือแผลเป็นจะอยู่ในร่องก้น ทำให้มองเห็นไม่ชัดและการผ่าตัดจะเปิดแผลเพียงแผลเดียว สามารถใส่ถุงซิลิโคนเข้าทั้งด้านซ้ายและด้านขวาได้
3. ขอบล่างของสะโพก
เป็นการเปิดแผลตำแหน่งรอยต่อของสะโพกกับต้นขา มีข้อดีคือ ผ่าตัดง่ายโดยเฉพาะการใส่ถุงเหนือกล้ามเนื้อ แต่มีข้อเสียคือเห็นแผลเป็นได้ชัด
ผู้ที่เหมาะสมในการเสริมสะโพก
· อายุ 18 ปีขึ้นไป
· สุขภาพเเข็งเเรง
· ต้องการเเก้ไขรูปทรงของสะโพก
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดเสริมสะโพก
· งดอาหารก่อนการผ่าตัดอย่างน้อย 6 ชั่วโมง (แต่ไม่จำเป็นต้องงดน้ำ)
· โปรดแจ้งอาการแพ้ยา ยาหรืออาหารเสริมที่ใช้ในปัจจุบันก่อนเข้ารับการผ่าตัด
· หากมีโรคประจำตัว โปรดแจ้งศัลยแพทย์ล่วงหน้า
· งดแอสไพริน (aspirin) ไอบิวโพรเฟน (Ibuprofen) และวิตามินอี ล่วงหน้า 2 สัปดาห์ก่อนเข้ารับการผ่าตัด
· งดสูบบุหรี่ก่อนและหลังผ่าตัด อย่างน้อย 2-4 สัปดาห์
การรักษาพยาบาลหลังผ่าตัดเสริมสะโพก
· ศัลยแพทย์จะปิดบริเวณที่ใส่ถุงซิลิโคนด้วยผ้าพันแผล เพื่อลดอาการบวมช้ำที่สามารถเกิดขึ้นได้ และคนไข้ต้องนอนคว่ำหรือนอนตะแคงในช่วง 48 ชั่วโมงแรกหลังการผ่าตัด
ระยะเวลาพักรักษาในโรงพยาบาลหลังผ่าตัดเสริมสะโพก
· นอนโรงพยาบาล 2 คืนเพื่อดูผลการผ่าตัด และตรวจร่างกายหลังการผ่าตัด (รวมในค่าใช้จ่ายเเล้ว)
ระยะเวลาพักฟื้นหลังผ่าตัดเสริมสะโพก
· พักฟื้นเป็นระยะเวลา 7 ถึง 10 วันจึงกลับไปทำงานได้ตามปกติ
ภาวะแทรกซ้อน
· ติดเชื้อ เลือดออก และกล้ามเนื้ออักเสบ อย่างไรก็ตามภาวะแทรกซ้อนต่างๆ สามารถลดลงได้จากความชำนาญของศัลยแพทย์ผู้ทำการผ่าตัด
การดูแลหลังการผ่าตัดเสริมสะโพก
· ปวดบริเวณที่ใส่ถุงซิลิโคนในช่วงแรก อาการเหล่านี้จะค่อยๆ ดีขึ้นภายใน 5-7 วัน หลังผ่าตัด ในช่วงนี้คุณจะเริ่มเดินและนั่งได้สะดวกยิ่งขึ้น
· กิจกรรมต่างๆ เช่น การวิ่ง ขี่จักรยาน สามารถเริ่มทำได้สัปดาห์ที่ 4 หลังการผ่าตัด
· ซิลิโคนจะเริ่มเข้าที่ และดูเป็นธรรมชาติ ในสัปดาห์ที่ 6-8 หลังการผ่าตัด
ค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดเสริมสะโพก (เเบบรวมอยู่ในเเพ็กเกจ)
· ค่าผ่าตัด
· ค่าแพทย์
· ค่ายา และอุปกรณ์ทางการแพทย์
· ค่าดูแลก่อนและหลังผ่าตัด
· ค่ายา และเวชภัณฑ์หลังผ่าตัด
· ค่าห้องพักหลังผ่าตัด 2 คืน
· การตรวจติดตามผลหลังผ่าตัด
การนัดผ่าตัด
สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
📞 02-715-0111 (9.00-17.00)
📱 081-813-6144
📧 consult@pai.co.th
Facebook preechasurgery
LINE @paisurgery